#Entrepreneur



Entrepreneur



เข้าใจง่ายๆ แปลว่า ผู้ประกอบการ หรือ ความรู้สึกเป็นเจ้าของในธุรกิจที่ทำ คำคำนี้คือหนึ่งในคุณสมบัติหลักที่สำคัญมากๆ เป็นสิ่งที่ใครๆไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่หรือเล็กก็ล้วนอยากให้ทุกคนในบริษัททุกตำแหน่งมีความรู้สึกเป็นเจ้าของบริษัท มีหลักคิดที่เป็นผู้ประกอบการ คนทำงานธุรกิจส่วนตัวนั้นจำเป็นตัองมีอยู่แล้วในหลักคิดผู้ประกอบการเพราะธุรกิจนี้เป็นของเราเอง แต่ในอีกด้านคือการที่จะจ้างพนักงานหรือผู้บริหารงานมาบริหารมาทำงานแทนเราในองค์กรสักคน คำว่า Entrepreneur คำนี้ถูกกำหนดในคุณสมบัติหลักในการรับคนเข้าทำงานในระดับต้นๆ ถูกตั้งเป็นคำถามเวลาสัมภาษณ์งานแบบต้องการทราบถึงมุมมองความคิดในเรื่องนี้อย่างจริงจัง





คงจะมีคนสงสัยว่าทำไมจึงต้องการให้คนที่เป็นลูกจ้าง หรือคนที่บริษัทจ้างมาทำงาน ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน หรือ ผู้บริหาร ต้องมีความคิดเป็นเจ้าของบริษัท Entrepreneur และปฎิบัติตนแบบเป็นเจ้าของกิจการร่วมกันกับองค์กร ดังผู้ถือหุ่นกันเลยที่เดียว เพราะเมื่อทุกคนคิดว่าธุรกิจนี้เป็นของเขา ธุรกิจนี้จะมีดีมากกว่าแค่ยอดขายโตแต่เราจะมีคนคอยระวัง มีคนคอยปกป้องผลประโยชน์ขององค์กร ปกป้องชื่อเสียง และ สร้างความยั่งยื่นให้กับองค์กรได้มากกว่าแค่ SAVE COST หรือการประหยัดต้นทุนให้กับบริษัทได้




ซึ่งการที่เจ้าของกิจการหลายบริษัทต้องการที่จะยัดเยียด คำว่า #Entrepreneur ให้พนักงานทุกคน นั้นต้องมีจิตวิญญาความเป็นเจ้าของกิจการ ถ้าองค์กรไหนทำได้นั้นถือว่าองค์นั้นเก่งมาก และยังไม่พอยังจะสามารถสร้างความเติบโตแบบยั่งยืนได้อย่างแน่นอน ซึ่งการทีอยากให้ทุกคนมีแนวคิดแบบนี้ มิใช่เพียงแค่คำพูด การปลุกใจเท่านั้น จะทำให้พนักงานทุกมีใจมีเป้าหมายร่วมกันได้ ยังต้องมีการวางแผนเรื่องของการทำงานการบริหางานอย่างเป็นระบบ ภายในองค์กรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จุดเริ่มต้นตั้งแต่การคัดสรรหาบุคลากร การอบรมจาก HR สู่การอบรมแต่ละแผนก เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมุ่งสู่ Vision เดียวกันและปฏิบัติตาม Mission เดียวกันของบริษัท




ส่งที่ขาดไม่ได้คือ การจะทำสิ่งใด ต้องเริ่มจาก WIN WIN Concept การที่คนเราจะทำอะไร และทำได้ดีต้องมีรางวัล รางวัลที่กำหนดจะต้องมุ่งสู่การสนับสนุนแนวคิดการเป็น Entrepreneur ด้วยดังนั้น ตัวชี้วัด หรือ KPI จึงสำคัญในขั้นตอนนี้ เพราะไม่มีใครทำอะไรให้ใครฟรีไปตลอด ยิ่งพนักงานระดับไม่สูงจะมีความคิดเป็นเจ้าของธุรกิจได้เหมือนกับเจ้าของกิจการนั้น ไม่ง่ายจริงดังนั้น การเป็นเถ้าแก่นั้น ก็ยังมีทั้งเถ้าแก่ที่ดี่ และ เถ้าแก่ที่ไม่ดี เถ้าแก่ที่รุ่งเรือง และ เถ้าแก่ที่เจ๊ง ควรมีการอบรมและสอนวิธีการทำงานและวิธีคิดแบบเถ้าแก่ ว่าเขาคิดกันอย่างไรทำกันอย่างไรกันนะ และ จัดรูปแบบการประเมิณผลเป็นส่วนย่อยเพื่อไปสู่ภาพรวม และมีรางวัลให้เมื่อบรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำ ครับ




" อย่ายัดเยียดความเป็นเจ้าขององค์กรให้กับใครถ้าเรายังไม่สอนเขาให้เขาเป็นเถ้าแก่ที่ดี "





Comments

Popular posts from this blog

วิวัฒนาการของช่องทางการจัดจำหน่าย

คิดไม่ออกจะขายอะไรดี Inside - Out VS Outside – In ช่วยเราได้

Guerrilla Marketing กอลิล่า มาร์เก็ตติ้ง